Loading...

การแบ่งส่วนงาน

          (1) งานสารสนเทศและการจัดการ มีหน้าที่ในการจัดการสำนักงานทั่วไปของกอง และรับผิดชอบต่อกระบวนการตรวจติดตามคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย

  • การพัฒนาและดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับรองรับการจัดอันดับสากล การตรวจประเมิน และการวางแผนพัฒนาคุณภาพ
  • การสื่อสารเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามตัวบ่งชี้และแนวทางการจัดการคุณภาพที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยครอบคลุมถึงเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) การบริหารความเสี่ยง การบริหารคุณภาพ ISO 9001 และการจัดอันดับสากลของหน่วยงานภายนอก
  • การจัดทำรายงานการประเมินตนเองระดับมหาวิทยาลัย
  • การจัดการข้อมูลในระบบสารสนเทศฯ ให้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ จัดเก็บ วิเคราะห์ประมวลผล และสรุปรายงาน พร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลบน website กองฯ ให้ถูกต้อง ทันสมัย
  • การรายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้อย่างสม่ำเสมอต่อผู้บริหาร และหน่วยงานจัดอันดับสากล การให้บริการข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ และการจัดอันดับสากลแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

          (2) งานประกันคุณภาพ มีหน้าที่ในการตรวจประเมินคุณภาพภายในและภายนอกตามข้อกำหนดของระบบคุณภาพต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่มหาวิทยาลัยเห็นชอบ ซึ่งรวมถึง

  • การจัดการประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการตรวจประเมินให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
  • การพัฒนาและการสร้างเครือข่ายผู้ประเมินคุณภาพ
  • การรับการตรวจประเมินคุณภาพจากหน่วยงานภายนอก
  • การยกร่างแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัยในรอบปีถัดไป และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

          โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบคุณภาพที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) การจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยง การบริหารคุณภาพ ISO 9001 และการจัดอันดับสากลของหน่วยงานภายนอก  

          (3) งานพัฒนาคุณภาพระดับสากล มีหน้าที่ในการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ ให้สอดคล้องกับแนวทางของระบบคุณภาพที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) การบริหารความเสี่ยง การบริหารคุณภาพ ISO 9001 และการจัดอันดับสากลของหน่วยงานภายนอก โดย

  • การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
  • การดำเนินงานด้านบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การติดตามผลการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งรวบรวมข้อมูลผลการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานต่างๆ จัดเก็บ วิเคราะห์ประมวลผล และสรุปรายงาน
  • การดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพ เช่น กิจกรรมประกวดผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และจัดการอบรม เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถดำเนินการปรับปรุงคุณภาพงานได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
  • การเสนอแนะแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของกองฯ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย